วันที่ 23 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) นำโดยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้จัด “กิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพของโรงเรียนสาธิต (Open class ครั้งที่ 1) ปีการศึกษา 2564” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom meetings) ภายใต้โครงการ : โครงการพัฒนากระบวนการร่วมมือผลิตครูมืออาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการวิชาชีพครู โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพของนักศึกษา ให้มีความหลากหลาย สร้างสรรค์ และมีความเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทบาลัยขอนแก่น 2) เผยแพร่โมเดลต้นแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ PLC ในการร่วมผลิตครูมืออาชีพของนักศึกษาสู่โรงเรียน และ 3) ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของอาจารย์และนักศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้เป็นครูมืออาชีพ ด้วยการพัฒนาโมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพของโรงเรียนนสาธิต ( Open class ครั้งที่ 1 )
ทั้งนี้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพของโรงเรียนสาธิต (Open class ครั้งที่ 1) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาปฏิบัติการสอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วันที่ 24 สิงหาคม 2564
เวลา 10.30-11.30 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.5/3 โดยมี อาจารย์วาสนา สิโสดา นักศึกษาปฏิบัติการสอนเป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาสังคมศึกษา ชั้น ป.4/2 และ ป.4/4 โดยมี อาจารย์วัฒนา คนรู้ เป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชาการงานอาชีพ ชั้น ป.6/2 โดยมี อาจารย์ชาญ จิตภิลัย เป็นอาจารย์ผู้สอน
วันที่ 25 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-10.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยวิชาภาษาไทย ชั้น ป.1/1 โดยมี อาจารย์สายชล จิตภิลัย เป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 9.00-10.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.6/1-ป.6/4 โดยมี อาจารย์มาลี ดั้นชัยภูมิ นักศึกษาปฏิบัติการสอนเป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.3/1 และ ป.3/2 โดยมี อาจารย์ปรัชญ์ธวีฐ์ โพธิวัชระ และ Miss. Hargelyn C. Montarial เป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.4/2 และ ป.4/4 โดยมี อาจารย์ไกรวิชญ์ เบ็ญจามินทร์ นักศึกษาปฏิบัติการสอนเป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ป.6/1 โดยมี อาจารย์ทิพย์สุดา เหมาะหมาย นักศึกษาปฏิบัติการสอนเป็นอาจารย์ผู้สอน
วันที่ 26 สิงหาคม 2564
เวลา 10.30-11.30 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.5/2 โดยมี อาจารย์อาทิตยา อรุณพาส เป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 13.00-14.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วิชาพลศึกษา ชั้น ป.6/2 โดยมี อาจารย์ฉัตรชนก ดวงปัญญา เป็นอาจารย์ผู้สอน
วันที่ 27 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-10.00 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาทัศนศิลป์ ชั้น ป.3/1 โดยมี อาจารย์สุกัลยา เกตุธานี เป็นอาจารย์ผู้สอน
เวลา 14.30-15.30 น. จัดกิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ป.3/1 โดยมี อาจารย์จิตตา สารักษ์ เป็นอาจารย์ผู้สอน
ในการนี้ "กิจกรรมพัฒนาโมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพของโรงเรียนสาธิต (Open class ครั้งที่ 1) ปีการศึกษา 2564" ได้รับความสนใจจากคณะผู้บริหาร คณะครู อาจารย์จากโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในเครือข่ายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาขอนแก่น และคณะครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ เข้าร่วมชมการจัดกิจกรรมผ่านการประชุมออนไลน์ (Zoom Meetings) และมีการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสอนของแต่ละรายวิชา ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คณะครูอาจารย์และนักศึกษาได้พัฒนาโมเดลต้นแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่โรงเรียนในรูปแบบ PLC และเป็นกิจกรรมที่ได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษาของโรงเรียน